วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด8-9


แบบฝึกหัด8-9
1. ในการวางแผนองค์กร ประกอบด้วยกระบวนการพื้นฐานอะไรบ้าง

 การวางแผนองค์กร (Planning) เป็นการะบวนที่ช่วยกำหนดและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะดำเนินการ และวิธีปฏิบัติในอนาคตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการทำได้ตามกำหนดเวลาและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า การวางแผนมีทั้งแบบเชิงรุก (Proactive) และเชิงรับ (Reactive) ซึ่งองค์กรควรมีการจัดทำทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจ ก่อนที่องค์กรจะวางแผนนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ตนเอง ดังนี้ “ขณะนี้เราอยู่ที่ไหนเรากำลังจะไปที่ไหนและเราจะไปถึงที่นั้นได้อย่างไร ?
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์มีอะไรบ้าง และผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญมีใครบ้าง กระบวนการดังกล่าวสามารถระบุจุดบอดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies)ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ขององค์กร (ตามที่อธิบายไว้ในโครงร่างองค์กร) กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวคืออะไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกรอบเวลา และทำให้กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2.การวางแผนกลยุทธ์มีความเกียวข้องกับสิ่งใด

การวางแผนกลยุทธ์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
การวางแผนกลยุทธ์หรือ Strategic Planning นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กันแพร่หลายมาก ในกิจการด้านการทหารในด้านการศึกการสงคราม ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะในการบริหารในวงการธุรกิจเอกชนนั้นประสบความสําเร็จสูงมาก ก้าวหน้าและเป็นที่กล ่าวขวัญถึงกันมาก ปัจจุบันนี้การวางแผนแบบแผนกลยุทธ์ได้แพร่หลายเข้ามาในวงงานต่างๆและวงงานของราชการมากขึ้น แต่คําที่นิยมใช้และที่ได้รับการยอมรับกันในวงราชการส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า แผนยุทธศาสตร์
การ วางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการกําหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทํางานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูงสําหรับการทํางานใน สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทํางานที่คล่องตัว ต้องการดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคต
3.จงสรุปขั้นตอนการวางแผนระบบสารสนเทศมาพอเข้าใจ

สรุป     เพราะฉะนั้น  ถ้าคุณดูให้ดี  กระบวนการทำแผนเชิงกลยุทธ์ มันคือ กระบวนการที่ประกอบด้วย
1 .ทำ SWOT
2. กำหนดวิสัยทัศน์ และกำหนด Mission

3. วัตถุประสงค์

4.กำหนดกลยุทธ์

5. กำหนดแผนปฏิบัติการ

และถ้าท่านดูให้ดี   ในการทำอันนี้  ระดับบนก็คือ ผู้บริหารระดับสูงกำหนด  Mission  กับ  วัตถุประสงค์  แล้วให้ระดับกลาง  แปลออกมาเป็นกลยุทธ์ ระดับล่างแปลง เป็นวัตถุประสงค์ และมีการเสนอขึ้นไปเป็นลำดับ  เป็นทั้ง Bottom-Up และ Top-Downทำต่อๆ ไปก็จะทำให้เกิดทักษะ ความชำนาญ สามารถพัฒนาระบบความคิดสัมพันธ์กับเรื่องของสาระและเวลา ฉะนั้น ศักยภาพในการแข่งขันขึ้นอยู่กับระบบความคิด การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการวางแผนไม่ดี งานทุกอย่างก็จะพัง   ฉะนั้น การวางแผนเป็นเรื่องง่าย แต่การวางแผนทีดีทำได้ยาก ซึ่งต้องมีองค์ประกอบที่ละเอียดอ่อนหลายประการ การทำแผนเกี่ยวข้องกับองค์กร ถ้าทำดีก็กระตุ้นความคิด การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล นำไปสู่ศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจได้ต่อไป

มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้างจงอธิบาย

4.วงจรพัฒนาระบบ SDLC มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้างจงอธิบาย 
วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มี 7 ขั้นตอน
                                                1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
                                                2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
                                                3. วิเคราะห์ (Analysis)
                                                4. ออกแบบ (Design)
                                                5. สร้าง หรือพัฒนา (Construction)
                                                6. การติดตั้งหรือการปรับเปลี่ยน (Installation, Conversion)
                                                7. บำรุงรักษา (Maintenance)
5.จริยธรรมหมายถึงอะไร

จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

6.ประเด่นทางด้านเทคโนโลยีสารระสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

 มี 5 ประเภท ได้แก่
 1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิ (Transaction Processing System : TPS)     
ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
               ลักษณะเด่นของ TPS
              ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
 2  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ     (Management Information System : MIS)
      คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ
ลักษณะเด่นของ MIS
       1  จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
       2  จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
       3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
       4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น   
 3  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System : DSS)
            คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
ลักษณะเด่นของ DSS
       1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                              
       2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง                
       3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                        
        4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใ
4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
(Executive Information System : EIS)
         คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
ลักษณะเด่นของ EIS
1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
              หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ AI/ES
ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น
 
7.  อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร และมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างไรบ้างจงอธิบาย
 
  คือ  ปัจจุบัน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
 1. ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และทำลายระบบคอมพิวเตอร์อื่น

         2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป้าหมายของอาชญากรรม
                    2.1 การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
                     ซึ่งมีทั้ง Hacker และ Criminal Hacker (Cracker)
                     2.2 การเปลี่ยนแปลงและทำลายข้อมูล     โดย
                       R virus : เป็นโปรแกรมที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น
                       R worms : เป็นโปรแกรมอิสระที่สามารถจำลองโปรแกรมเองได้
                2.3 การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
                2.4 การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (Computer-related Scams)
 การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ 3 ประการ คือ
        1.  การควบคุมระบบสารสนเทศ
         2.   การควบคุมกระบวนการทำงาน
         3.    การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด

1.ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของ E-Commerce คืออะไร

E-Commerce คืออะไร
    E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)
จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น 
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business


2.จงบอกประเภทของ E-Commerce มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

 ประเภทของ E-Commerce มี5ประเภท
1. ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
2. ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
3. ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
4. ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

5. ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

3. ประโยชน์และข้อจำกัดความ E-Commerce มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

 ประโยชน์ของ E-Commerce 
     คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
ถ้า การสร้างเว็บไซต์ E-Commerce  เพื่อทำเป็นร้านค้าออนไลน์ ที่แสดงสินค้า โดยลูกค้าสามารถเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ ดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก ซึ่งนับเป็นข้อดีอีกข้อของ การทำ E-Commerce
แต่ถ้าหากเราไม่อยากสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเอง ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก เราอาจจะใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป ประเภท E-Commerce ช่วยสร้างร้านค้าออนไลน์ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำเว็บไซต์ และ ทำให้สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ ได้อย่างรวดเร็ว
การเปิดร้านค้าออนไลน์ ประเภท E-Commerce เป็นการตลาดที่ลงทุนต่ำ และยังง่ายต่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการ Internet ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลาสำหรับผู้ซื้อกับผู้ขาย และ ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านขายสินค้า ที่ต้องมีการจดทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพียงแค่มีสินค้า และ บริการให้กับลูกค้าเท่านั้น เราก็สามารถดำเนินธุระกิร E-Commerce ได้อย่างง่ายดาย


 4. เทคโนโลยี EDI มีความสำคัญต่อ E-Commerce  อย่างไร

  EDI มีความสำคัญต่อ E-Commerce
    
    - เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร
    - ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร
    - สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
    - ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน
    - เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
    - เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

  5. จงยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ B2B,B2C,C2C,B2G 
มาอย่างละ 2 ตัวอย่าง


ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Business  (B2B)
TESCO LOTUS เป็นการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค แบบปลีกให้กับผู้บริโภค
www.boeing.com




ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Consumer  (B2C)
 http://www.amazon.com/  




ตัวอย่างเว็บไซต์ Consumer-to-Consumer  (C2C)
www.ebay.com
                  
เป็นเว็บไซต์ที่ผู้บริโภคสามารถนำสินค้ามาฝากขายหรือใช้บริการของเว็บนี้เปิดร้านเพื่อขายสินค้าแก่ผู้บริโภคคนอื่นได้

www.thaisecondhand.com


เป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้ามือสองก็เป็นธุรกิจแบบ C2C เช่นกัน

6. วิธีการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง และท่านเคยใช้หรือไม่อย่างไร
 การโอนเงินผ่านธนาคาร: หากคุณเลือกตัวเลือกนี้ คุณจะชำระเงิน AdWords โดยการโอนเงินจากบัญชีธนาคารของคุณไปยังบัญชีธนาคารของ Google โฆษณาของคุณจะเริ่มทำงานทันทีหลังจากที่เราได้รับการชำระเงินจากคุณ ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 5 ถึง 10 วันทำการ โดยขึ้นกับประเทศของคุณและธนาคารที่คุณใช้  ไม่เคย

แนวโน้วของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ข่าวเกี่ยวกับ it

แนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต

แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ในบล็อกนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบัน  และแนวโน้มของเทคโนโลยีต่าง ๆ กันนะครับ  ซึ่งในปัจจุบันนี้สิ่งที่กำลังได้รับความสนใจก็คือ   เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม  ซึ่งเป็นการการสื่อสารที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกมากครับเรามาดูเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน
แนวโน้มใน ด้านบวก 
       การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
  • การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
  • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ 
  • การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
  • การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ 
  • การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen

แนวโน้มใน ด้านลบ 
  • ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
  • การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ 
 ข่าวเกียวกับ it


มาแล้ว!!!โน้ตบุ๊ก 3D "มัลติทัช" Win 7
รายงานข่าววันนี้ เอเซอร์ (Acer) ประกาศเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ออกมา 2 รุ่นด้วยกัน โดยมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 7 ซึ่งได้แก่ Aspire 5738PG จะเป็นโน้ตบุ๊กรุ่นแรกที่มาพร้อมกับการแสดงผล 3D บนหน้าจอระบบสัมผัสขนาด 15.6 นิ้ว และ Aspire Timeline AS1810TZ หน้าจอขนาด 11.6 นิ้วที่ให้สัมผัสบางเบาน่าใช้เหมือนเดิม



Aspire 5738PG เป็นโน้ตบุ๊กรุ่นแรกของโลกที่สามารถแสดงผล 3D สำหรับการเล่นเกมส์ หรือชมภาพยนต์ โดยมาพร้อมกับแว่นตาพิเศษที่ใช้งานร่วมกัน นอกจากนี้มันทำงานด้วยระบบหน้าจอสัมผัสอีกต่างหาก รองรับการทำงานแบบ"มัลติทัช" ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้สองนิ้วในการควบคุมการทำงานของอินเตอร์เฟซบนหน้าจอได้ เรียกได้ว่า สอดรับกับความสามารถของ Windows 7 ได้อย่างลงตัวทั้งสเป็ก และคุณสมบัติการทำงาน



Acer Aspire AS5738PG-6306 โน้ตบุ๊กหน้า"จอมัลติทัช"

จอมัลติทัช HD CineCrystal LED ขนาด 15.6 นิ้ว (16:9, 1366x768)
Windows 7 Home Premium 64-bit
Intel Core 2 Duo Processor T6600 (2.2GHz, 2MB L2 Cache, 800MHz FSB)
การ์ดกราฟิกเป็น ATI Radeon HD 4570 หน่วยความจำ 512MB
หน่วยความจำ DDR2 667MHz ขนาด 4GB (Dual Channel Memory)
ฮาร์ดดิสก์ SATA 320GB
8X DVD-Super Multi Double-Layer Drive
แป้นพิมพ์หมายเลขโดยเฉพาะ (ไม่ผสมอยู่กับคีย์อื่นๆ)
ลำโพงสเตอริโอเสียงรอบทิศด้วย Dolby 10
HDMI 1 พอร์ต และ USB 2.0 4 พอร์ต
น้ำหนักเครื่อง 6.16 ปอนด์ (ประมาณ 2.8 กิโลกรัม)
$799.99 (ประมาณ 29,000 บาท)

ส่วน Aspire Timeline AS1810TZ ขนาดหน้าจอ 11 นิ้ว ทำให้มันดูเหมือนเน็ตบุ๊ก แต่ความจริงมันเป็นโน้ตบุ๊กทีมีขนาดเล็กกว่า เพราะแทนที่จะใช้ซีพียูเป็น Intel Atom รุ่นนี้จะมาพร้อมกับ Dual-Core Intel SU7300 ซึ่งยังคงคอนเซปต์บางเฉียบ และมีน้ำหนักเบาเหมือนเดิม เพียงแต่ออกมาในขนาดเล็กแบบ"เน็ตบุ๊ก"เท่านั้น โน้ตบุ๊กทั้งสองรุ่นนี้มีกำหนดการวางตลาดตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม ซึ่งก็คือ วันที่ระบบปฏิบัติการ Windows 7 เปิดตัวนั่นเอง สำหรับรายละเอียดของทั้งสองรุ่นมีดังนี้

Acer Aspire Timeline AS1810T-8679



Intel Core 2 Duo Processor SU7300 (1.3GHz, 3MB L2 cache, 800MHz FSB)
Windows 7 Home Premium 64-bit
จอแอลอีดี HD Widescreen (16:9, 1366x768)
ชิปเซ็ต Mobile Intel GS45
หน่วยความจำ DDR2 4GB (Dual-Channel 667MHz)
ฮาร์ดดิสก์ SATA 320GB (5400RPM)
Intel WiFi Link 1000 802.11b/g/Draft-N WiFi
Bluetooth 2.1+EDR
HDMI 1 พอร์ต, USB 2.0 3 พอร์ต
ทัชแพดสนับสนุน Multi-Gesture
น้ำหนัก 3.08 ปอนด์ (1.4 กิโลกรัม)
$599.99 (ประมาณ 22,000 บาท)
สนับสนุนโดย: COMMART COMTECH 2009 งานแสดงมหกรรมคอมพิวเตอร์ระดับประเทศ จัดขึ้นวันที่ 5 - 8 พฤศจิกายน 2552 ณ. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


 

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

การสืบค้นข้อมูลบน Google มีกี่ปรพเภทอะไรบ้าง


การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต        
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ   ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory               วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
              วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
 ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine                คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้นค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจึงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง
 

E office คืออะไร มีความเกียวข้องอะไรกับระบบ ois



E- Office  คือ การนำเอา ข้อมูล ที่ มีอยู่ ใน Server ที่ใช้งานปัจจุบัน  นำมาจัดเลือกข้อมูล ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น เอกสาร  Word, Excel ,Powerpoint  ,PDF ,JPG ,BMP  ฯลฯ  นำมา Share ข้อมูล ให้อยู่ในระบบของ Web Server  และระบบการกำหนด รหัสผ่าน ในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องการ โดยการกำหนด User และ Password    เพื่อให้สามารถใช้งาน  ข้อมูล ต่าง ผ่านระบบ Internet ( Internet Explorer ) ใช้งานได้ ทั่วทุกที่ เพื่อไม่ให้ขาดข้อมูล หรือเอกสาร สำคัญๆ  ณ ในเวลานั้น
ในปัจจุบัน ดูเหมือนกับไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ แตกต่างจากสำนักงานที่ใช้เพียงเครื่องจักรกล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องยนต์ กลไล และ ระบบไปรษณีย์ เป็นความหมายหลักของการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเรื่องน่าทึ่งที่ยังรอคอยเราอยู่ เรากำลังจะได้เริ่มเห็นบทบาทของ บริษัทเสมือนจริง ซึ่งสามารถทำให้ เราทำงานได้ในทุกแห่ง ปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่คุณสมบัติของระบบ E-Office
รันอยู่ในระบบ Web Server   และเครื่องของคุณเอง 
การ Download ข้อมูลอย่างรวดเร็ว
รองรับเอกสาร doc ,xls ,ppt ,jpg ,bmp ,pdf    ( และสามารถดูตัวอย่างของเอกสารได้ ใน doc ,xls ,pdf)
มีระบบการป้องการเอกสาร โดยการกำหนด รหัสผ่าน
มีระบบ User และ Password
สามารถ สร้าง Slide Show ดูได้  ในรูปแบบของ jpg  file
ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก
และอื่นๆ อีกมากมาย
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (  E Office Information System)
หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้
การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย (OIS ) จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานในองค์การเดี่ยวกัน และระหว่างองค์กร รวมทั้ง การติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอก


http://view62-wipada.blogspot.com/2011/09/e-office.html

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

จงบอกความหมายของระบบTPS MRS DSS

1. ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพยากรสารสนเทศคือ
  1. รวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกที่มีความจำเป็นต่อหน่วยงาน
  2. ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้
  3. มีระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
  4. ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ
   ประโยชน์ที่ได้จากระบบสารสนเทศที่มีต่อการบริหารงานในองค์กร คือ
  1. เพื่อการวางแผน กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการบริหารองค์กร
  2. สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร
  4. ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง การบริหารงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ
  5. ใช้ควบคุมระบบการทำงานในองค์กรให้ดำเนินไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
  6. องค์กรมีมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน ทำให้ได้รับความเชื่อถือ
  7. สร้างโอกาสในการลงทุน ทำให้มีการขยายองค์กรให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น
  8. สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้
2.  TPS
1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS

        ลักษณะที่สำคัญของระบบ TPS มีดังนี้ (Turban et al.,2001:277)
•  มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
•  แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
•  กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
•  มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
•  มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
•  TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
•  ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
•  ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
•  มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
•  ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง

กระบวนการของ TPS

        กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ (Stair & Reynolds, 1999)
1) Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2) Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3) Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
MRS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information Systems)
เป็นระบบที่ช่วยในการเตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง เช่น ใช้ในการวิเคราะห์ความผิดพลาด ความก้าวหน้า หรือข้อบกพร่องในการทำงานรายงานส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของรายงานสรุป (Summary Report) จากการปฏิบัติงานประจำ เป็นงานที่ได้รับการส่งต่อจากงาน TPS คือ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่มีอยู่ในระบบให้สามารถใช้ปรโยชน์ได้เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในระดับต่อไป คำว่า MIS บางครั้งจะใช้คำว่า IRS (Information Reporting Systems) หรือ MRS (Management Reporting Systems) แทนความแตกต่างระหว่าง ระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดการ (MIS)และ ระบบประมวลผลรายการ (TPS) มีหลายประการ TPS ใช้แฟ้มข้อมูลแยกกันเนื่องจากการทำงานแยกกันในแต่ละฝ่าย เช่น ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการรับใบสั่งสินค้าจากลูกค้า ประมวลรายการสินค้า บันทึกรายการขาย ดูแลการส่งสินค้า ควบคุมคลังสินค้า และการบัญชีMIS จะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันและมีการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่ายทำให้ MIS มีความยืดหยุ่นในการสร้างสารสนเทศให้กับ ผู้บริหารตามความต้องการ สารสนเทศที่ได้จะเกี่ยวข้องกับการสรุปผลการดำเนินงานที่ได้จาก TPS จะมีการพิมพ์รายงานสรุปว่าสินค้าอะไรบ้างที่ขายช้าหรือขายเร็วและส่วนของคลังสินค้าก็จะรู้ว่า ต้องสั่งสินค้าอะไรเพิ่มเข้ามาใหม่ ดังนั้น MIS เป็นการสร้างสารสนเทศที่จำเป็นต่อการจัดการในงานต่าง ๆ มีการวางแผนขั้นแรกในระดับการควบคุม และตัดสินใจของผู้บริหารในงานทั่ว ๆ ไป โดยจะใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมต่อระบบ MIS ก็คือผู้บริหาร ผู้บริหารจะคอยรับทราบและทำความเข้าใจถึงภาพรวมและแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัท สถานะการเงินเป็นอย่างไร สภาพตลาดเป็นอย่างไรมีกำลังการผลิตมากน้อยเพียงใดรวมถึงผลกระทบหรือปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดจนโอกาสต่าง ๆ ทางธุรกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไร จากนั้นจึงนำสิ่งที่ได้รับจากการรายงานข้างต้นมาพิจารณาวางแผนและดำเนินการต่อไปMIS จะอยู่ในระดับกลางขององค์กร คือ เป็นระดับของการจัดการ ทั้งทางด้านการจัดการขาย การควบคุมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ของระดับปฏิบัติงาน เช่น นำข้อมูลของวันนี้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของเดือนที่ผ่านมาหรือย้อนหลัง เดือน แล้วนำมาสรุปในอยู่ในรูปของกราฟหรือรายงาน นอกจากนี้ผู้บริหารยังใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS มาวิเคราะห์กาความผิดพลาดหรือหาความก้าวหน้าในการทำงาน โดยอาจใช้ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปกิบัติจริงกับค่าประมาณ ที่วางแผนไว้ แล้วจึงส่งต่อไปยังผู้บริหารระดับสูง เพื่อผู้บริหารระดับสูงจะได้นำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือวงแผนระบบงานต่อไป

DSS
ระบบสนับสนุนการตัดสิน (DSS : Decision Support Systems) เป็นระบบที่เป็นการทำงานแบบกึ่งโครงสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูลการนำมาใช้และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ (ประสงค์ ประณีตพลกรังและคณะ.
2541 ; 16) 
ในระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศจาก TPS และ MIS แบบสรุปมาใช้ประกอบการตัดสินใจ DSS แตกต่างจากระบบอื่น ๆ คือ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นต่อการตัดสินใจ และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคนข้อแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS มีดังนี้

MIS 
สามารถให้สารสนเทศได้เฉพาะสารสนเทศที่มีอยู่แล้ว ไม่สามารถจัดสารสนเทศใหม่ทันทีทันใด MIS ใช้กับปัญหาแบบมีโครงสร้าง เช่น ในระบบสินค้าคงคลังเมื่อไรจึงจะสั่งวัตถุเพิ่ม และต้องสั่งเท่าไร ซึ่งเป็นลักษณะของปัญหาที่เกิดประจำในระดับปฏิบัติการ การตัดสินในจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการผลิต ราคาต้นทุนวัตถุดิบและตัวแปรอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในระบบสินค้าคงคลัง
DSS 
ได้ถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นปัญหาที่ส่วนเป็นแบบมีโครงสร้าง และส่วนหนึ่งเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น ความต้องการปรับปรุงคุณภาพการส่งสินค้าของพ่อค้า ปัญหาแบบมีโครงสร้างได้แก่ การเปรียบเทียบสารสนเทศในการส่งของอย่างตรงเวลาของพ่อค้า
ในช่วง ปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถได้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของ MIS และปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างได้แก่ สถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าได้ เกี่ยวกับนโยบายการสั่งซื้อสินค้า ราคาสินค้า
และอื่น ๆ ปัญหาดังกล่าวต้องใช้ DSS ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ นอกจากนี้ DSS จะอยู่ในรูปแบบที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละคน เป็นระบบที่ถูกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยผู้บริหารใน
การตัดสินใจ ภายใต้ผลสรุป และเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกแหล่งข้อมูลภายในเป็นข้อมูลที่ไมาจากฐานข้อมูลภายในองค์กร เช่น การขาย การผลิต ฐานะทางการเงิน
ขององค์กร แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ กระแสการเงิน กระแสการลงทุนในตลาดหุ้น ภาวะเศรษฐกิจ ข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง DSS มักจะใช้ภาษาสืบค้น (Query Language) ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ใช้ภาพกราฟิก เพื่อให้ผู้บริหารได้รับสารสนเทศที่ต้องการจริง ๆ ช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยผู้บริหารสร้างตัวแบบ (Model)ของตัวแปรต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ซึ่งตัวแบบนี้ถ้าเปลี่ยน ตัวแปร 1ตัวหรือมากกว่า จะทำให้ผลกระทบเปลี่ยนไปโดยตัวแบบจะรวมเอาแฟคเตอร์ (Factor) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเปรียบเทียบ ผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจ ตัวแบบที่สร้างขึ้นง่ายต่อการใช้ การดึงข้อมูลและการทำรายงาน ผู้บริหารสามารถสร้างสารสนเทศที่คิดว่ามีประโยชน์เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี
DSS 
เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ช่วยในการตัดสินใจของคน ช่วยในการวิเคราะห์งานได้ดีโดยช่วยให้คนรู้จักข้อมูลและรู้จักใช้ตัวแบบ (Model) ของคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา ช่วยผู้บริหารในการทดสอบทางเลือกเพื่อตัดสินใจ ทำให้ทราบว่าการเลือกทางเลือกนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ีการนำสารสนเทศที่เตรียมได้จากระดับล่างขององค์กรและสารสนเทศภายนอก มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด สามารถทำนายแนวโน้มของตลาดได้ ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะการตัดสินในระดับนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการตัดสินใจในระดับล่าง