วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

3G 4G 5G คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร


1)     3G 4G คืออะไร

 คำว่า 3G ในเรื่องของโทรศัพท์ก็คือมาตรฐานการพัฒนาซึ่งแบ่งเป็นยุคๆ ตั้งแต่ยุค 1G ที่โทรศัพท์เป็นแบบเซลลูล่าอันใหญ่ๆ ใช้สัญญาณอนาลอก หรือสัญญาณคลื่นวิทยุซึ่งเกิดในปี 1981 ยุคต่อมาคือ 2G เริ่มในปี 1992 โดยใช้ระบบดิจิตอล คือการนำสัญญาณเสียงมาบีบอัดให้เล็กลงจนเป็นสัญญาณอิเล็กโทรนิค ต่อมาในปี 2001 ก็เริ่มมีการใช้โทรศัพท์ 3G ที่ญี่ปุ่นเป็นที่แรกที่นำระบบ 3G เข้ามาใช้จนถึงทุกวันนี้ จุดเด่นของ 3G คือรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ส่วนจุดอ่อนของ 3G คือ การเปลี่ยนจาก 2G ปัจจุบันในประเทศไทยเรานั้นน่าจะเรียกว่าระบบ 2.9G คือจากระบบ 2G เป็น 2.5G จนมาเป็น 2.9G เช่น สามารถถ่ายภาพแล้วก็อัฟเดตขึ้น Facebook ได้เลย แต่ก็ยังต้องคอยอยู่ดี แต่ถ้าเป็น 3G แล้วก็จะเร็วขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นก็เลยถือว่ามันไม่ได้ตอบสนองโจทย์ทั้งหมด เพราะถ้าจะพัฒนาระบบทั้งหมดให้เป็น 3G ต้องใช้งบลงทุนมากมายมหาศาล แต่สิ่งที่ได้มาบางทีอาจจะไม่คุ้มกับการใช้งานจริง ในส่วนของประเทศที่ใช้ 3G มานานแล้วเขามองว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบ 4G กันแล้ว 4G เป็นเหมือนการสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ 10 ปีและ5Gคือการพัฒนามาจาก4Gเพื่อความสะดวกสะบายต่อการใช่งานขึ้นมาเรื่อยๆ

 มีความแตกต่าง

 4G มีลักษณะแตกต่างจาก 3G คือ ในเรื่องของการเชื่อมต่อแบบเคลื่อนไหวไร้รอยต่อ 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบใหม่นี้จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติ การเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียวและ5G ก็จะมีความเร็ว และแรงต่อการใช่งานมากกว่า4G และ3G
มีความสำคํญต่อชีวิตทำ ให้ชีวิต สะดวกสะบายมากขึ้น และสามารถลดค่าใช่จ่ายต่อการสื่อสารได้อีกด้วย
 http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/3G%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B04G-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.html

2)  ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร  
ที่มา  https://sites.google.com/site/043160/khwam-ru-thawpi-keiyw-kab-rabb-sarsnthes/khwam-hmay-khxng-rabb-sarsnthes

3) ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันที่ข้อมูล คือ ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรือ อะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายๆ รูปแบบซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่มเรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น ยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะแตกต่างกับสารสนเทศ คือ เป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรอง หรือ ประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบ หรือ กรรมวิธีต่างๆ แล้ว เป็นข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด สามารถอ้างอิงและใช้งานได้เลย    http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_30.html 
                                                                                                               
4)  ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ

  1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์

  2. ซอฟต์แวร์

   3. ข้อมูล

   4. บุคลากร

   5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
 http://www.chakkham.ac.th/technology/homepage/page1.html

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำไหมต้องเรียนระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการ

เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรามาก โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานหน้าที่ทางธุรกิจตามรูปแบบที่เคยปฏิบัติเข้าสู่ยุคสารสนเทศที่ดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นกระบวนการในการให้บริการให้แก่ลูกค้าที่มีความรวดเร็วและซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยสารสนเทศที่มีคุณภาพดังนั้นผู้จัดการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้สารสนเทศและสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไหมต้องเรียนระบบสาระสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานหน้าที่ทางธุรกิจ เมื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศที่การดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นกระบวนการในการให้บริการแก่ลูกค้าที่มีความรวดเร็วและซับซ้อน ตลอดจนมีการแข่งขันที่รุนแรง เพราะฉะนั้น ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของความสำเร็จในธุรกิจและการจัดการองค์กร จึงมีการจัดตั้งสาขาด้านบริหารและการจัดการ นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมต้องเรียนเกี่ยวกับระบบสารสนเทศไม่ว่าคุณจะเป็นผู้จัดการ ผู้ประกอบการ หรือนักธุรกิจมืออาชีพ ระบบสารสนเทศเป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจ เหมือนที่คุณเข้าใจสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ.