วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด8-9


แบบฝึกหัด8-9
1. ในการวางแผนองค์กร ประกอบด้วยกระบวนการพื้นฐานอะไรบ้าง

 การวางแผนองค์กร (Planning) เป็นการะบวนที่ช่วยกำหนดและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะดำเนินการ และวิธีปฏิบัติในอนาคตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการทำได้ตามกำหนดเวลาและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า การวางแผนมีทั้งแบบเชิงรุก (Proactive) และเชิงรับ (Reactive) ซึ่งองค์กรควรมีการจัดทำทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจ ก่อนที่องค์กรจะวางแผนนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ตนเอง ดังนี้ “ขณะนี้เราอยู่ที่ไหนเรากำลังจะไปที่ไหนและเราจะไปถึงที่นั้นได้อย่างไร ?
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์มีอะไรบ้าง และผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญมีใครบ้าง กระบวนการดังกล่าวสามารถระบุจุดบอดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies)ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ขององค์กร (ตามที่อธิบายไว้ในโครงร่างองค์กร) กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวคืออะไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกรอบเวลา และทำให้กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2.การวางแผนกลยุทธ์มีความเกียวข้องกับสิ่งใด

การวางแผนกลยุทธ์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
การวางแผนกลยุทธ์หรือ Strategic Planning นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กันแพร่หลายมาก ในกิจการด้านการทหารในด้านการศึกการสงคราม ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะในการบริหารในวงการธุรกิจเอกชนนั้นประสบความสําเร็จสูงมาก ก้าวหน้าและเป็นที่กล ่าวขวัญถึงกันมาก ปัจจุบันนี้การวางแผนแบบแผนกลยุทธ์ได้แพร่หลายเข้ามาในวงงานต่างๆและวงงานของราชการมากขึ้น แต่คําที่นิยมใช้และที่ได้รับการยอมรับกันในวงราชการส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า แผนยุทธศาสตร์
การ วางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการกําหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทํางานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูงสําหรับการทํางานใน สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทํางานที่คล่องตัว ต้องการดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคต
3.จงสรุปขั้นตอนการวางแผนระบบสารสนเทศมาพอเข้าใจ

สรุป     เพราะฉะนั้น  ถ้าคุณดูให้ดี  กระบวนการทำแผนเชิงกลยุทธ์ มันคือ กระบวนการที่ประกอบด้วย
1 .ทำ SWOT
2. กำหนดวิสัยทัศน์ และกำหนด Mission

3. วัตถุประสงค์

4.กำหนดกลยุทธ์

5. กำหนดแผนปฏิบัติการ

และถ้าท่านดูให้ดี   ในการทำอันนี้  ระดับบนก็คือ ผู้บริหารระดับสูงกำหนด  Mission  กับ  วัตถุประสงค์  แล้วให้ระดับกลาง  แปลออกมาเป็นกลยุทธ์ ระดับล่างแปลง เป็นวัตถุประสงค์ และมีการเสนอขึ้นไปเป็นลำดับ  เป็นทั้ง Bottom-Up และ Top-Downทำต่อๆ ไปก็จะทำให้เกิดทักษะ ความชำนาญ สามารถพัฒนาระบบความคิดสัมพันธ์กับเรื่องของสาระและเวลา ฉะนั้น ศักยภาพในการแข่งขันขึ้นอยู่กับระบบความคิด การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการวางแผนไม่ดี งานทุกอย่างก็จะพัง   ฉะนั้น การวางแผนเป็นเรื่องง่าย แต่การวางแผนทีดีทำได้ยาก ซึ่งต้องมีองค์ประกอบที่ละเอียดอ่อนหลายประการ การทำแผนเกี่ยวข้องกับองค์กร ถ้าทำดีก็กระตุ้นความคิด การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล นำไปสู่ศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจได้ต่อไป

มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้างจงอธิบาย

4.วงจรพัฒนาระบบ SDLC มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้างจงอธิบาย 
วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มี 7 ขั้นตอน
                                                1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
                                                2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
                                                3. วิเคราะห์ (Analysis)
                                                4. ออกแบบ (Design)
                                                5. สร้าง หรือพัฒนา (Construction)
                                                6. การติดตั้งหรือการปรับเปลี่ยน (Installation, Conversion)
                                                7. บำรุงรักษา (Maintenance)
5.จริยธรรมหมายถึงอะไร

จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

6.ประเด่นทางด้านเทคโนโลยีสารระสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

 มี 5 ประเภท ได้แก่
 1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิ (Transaction Processing System : TPS)     
ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
               ลักษณะเด่นของ TPS
              ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
 2  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ     (Management Information System : MIS)
      คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ
ลักษณะเด่นของ MIS
       1  จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
       2  จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
       3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
       4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น   
 3  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System : DSS)
            คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
ลักษณะเด่นของ DSS
       1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                              
       2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง                
       3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                        
        4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใ
4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
(Executive Information System : EIS)
         คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
ลักษณะเด่นของ EIS
1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
              หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ AI/ES
ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น
 
7.  อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร และมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างไรบ้างจงอธิบาย
 
  คือ  ปัจจุบัน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
 1. ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และทำลายระบบคอมพิวเตอร์อื่น

         2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป้าหมายของอาชญากรรม
                    2.1 การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
                     ซึ่งมีทั้ง Hacker และ Criminal Hacker (Cracker)
                     2.2 การเปลี่ยนแปลงและทำลายข้อมูล     โดย
                       R virus : เป็นโปรแกรมที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น
                       R worms : เป็นโปรแกรมอิสระที่สามารถจำลองโปรแกรมเองได้
                2.3 การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
                2.4 การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (Computer-related Scams)
 การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ 3 ประการ คือ
        1.  การควบคุมระบบสารสนเทศ
         2.   การควบคุมกระบวนการทำงาน
         3.    การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น